บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มกราคม, 2018

หมอลำผีฟ้า

รูปภาพ
หมอลำผีฟ้า          คนอีสานบางคนมีความเชื่อว่าโรคภัยไข้เจ็บเกิดจากเชื้อโรค และบางคนเชื่อว่าเกิดจากการกระทำของผี ความเจ็บป่วยที่เกิดจากเชื้อโรค สามารถเยียวยาให้หายได้ด้วยการรักษาโดยการใช้ยา ส่วนความเจ็บปวดที่เกิดจากผีนั้น เชื่อว่าต้องได้รับการรักษาจากผีฟ้าหรืออำนาจอย่างอื่น อย่างไรก็ตามเมื่อถึงคราวชีวิตจะสิ้นสุดลง ก็ไม่สามารถมีใครเหนี่ยวรั้งเอาไว้ได้          คนป่วยที่ได้รับการรักษาจากวิธีการสมัยใหม่หรือจากยาไม่ได้ผลแล้วคนใช้หรือญาติพี่น้องของคนไข้ก็จนปัญญาจำต้องหันหน้าพึ่งทางอื่น และพึ่งทางอันนั้นก็คือ หมอลำผีฟ้า ถึงแม้ว่าทุกคนจะไม่มีความเชื่อในหมอลำผีฟ้าดังกล่าว แต่เพื่อชีวิตอย่างน้อยก็ต้องลองเสี่ยงดู           หมอลำผีฟ้าอาจแปลความได้ว่า คณะหมอลำที่ทำการติดต่อสื่อสารกับผีฟ้า บางท้องที่เรียกหมอลำผีฟ้าว่า หมอลำไทเทิง ซึ่งหมายถึง หมอลำที่ติดต่อกับผีที่อยู่เบื้องบน (ไท หมายถึง กลุ่มคนหรือวิญญาณ เทิง หมายถึง เหนือหรือข้างบน) ในบางท้องที่เรียกหมอลำผีฟ้าว่า หมอลำผีแถน ซึ่งหมายถึง คณะหมอล...

หมอลำเพลิน

รูปภาพ
หมอลำเพลิน             หมอลำเพลิน เป็นหมอลำหมู่อีกประเภทหนึ่ง เป็นการแสดงที่แสดงเป็นคณะ เรื่องที่จะแสดงเป็นเรื่องอะไรก็ได้รวมทั้งเรื่องที่หมอลำหมู่แสดง ส่วนข้อแตกต่างระหว่างหมอลำหมู่กับหมอลำเพลิน คือ             1.ในหมอลำหมู่ผู้แสดงฝ่ายหญิงทุกคนจะแต่งชุดด้วยผ้าซิ่นแบบพื้นบ้านอีสาน หรือไม่ก็ชุดไทย แต่ลำเพลินฝ่ายหญิงจะนุ่งกระโปรงแบบฝรั่ง             2.ในลำเพลินนอกจากแคนแล้วยังมีพิณเป็นเครื่องดนตรีประกอบด้วย             3.ในลำเพลินจะมีจังหวะการลำที่เรียกว่า "ลำเพลิน" ซึ่งหมายถึงจังหวะสนุกสนาน         ถึงแม้ว่าลำเพลินจะเข้าม่มีบทบาทพร้อมๆกับลำหมู่ก็ตาม แต่ไม่เป็นที่นิยมแพร่หลายเท่าลำหมู่ จนเมื่อประมาณสิบปีก่อน ลำเพลินจึงกลายมาเป็นที่นิยมของคนทั่วไป และเป็นที่น่าสนใจว่าการฝึกซ้อมที่จะเป็นหมอลำเพลินนั้นง่ายและใช้เวลาน้อยกว่าการเป็นหมอลำหมู่ กล่าวคือ ...

หมอลำพื้น

รูปภาพ
หมอลำพื้น        เป็นการลำแบบเล่าเรื่องหรือนิทาน หรือ คำสอนเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา มีลักษณะแสดงเป็นการ ลำเดี่ยวหรือลำคนเดียว ส่วนใหญ่เป็นหมอลำผู้ชายโดยมีแคน เป็นเครื่องดนตรีประกอบ เรื่องที่นำมาเล่าต้องเป็นเรื่องที่มา จากวรรณกรรม เช่น เรื่องการะเกด สินไช นิทานชาดก ฯลฯ ในการลำผู้ลำใช้ผ้าขาวม้าเป็นอุปกรณ์ประกอบในการ แสดงท่าทาง เป็นพระเอก นางเอก หรือเป็นนักรบตาม เนื้อเรื่อง      หมอลำพื้นมีบทบาทสร้างความบันเทิงให้แก่คน ในชุมชนและกล่อมเกลาสังคม บันทึกคำสอน ปรัชญาของ ชุมชนอีสานที่สืบทอดต่อๆ กันมา ในปัจจุบันหมอลำพื้น กำลังจะสูญหายไปจากแผ่นดินอีสาน เนื่องจากขาด ผู้สืบทอด อีกประการหนึ่งผู้ที่จะเป็นหมอลำพื้นได้ดีจะต้อง ใช้ระยะเวลาในการปลูกฝังและบ่มเพาะ เพื่อให้สามารถจดจำ เนื้อเรื่องต่างๆ ได้เป็นอย่างดี รวมทั้งต้องสามารถตีบท ตัวละครต่างๆ ได้ด้วย การลำจึงจะมีรสชาติชวนติดตาม

หมอลำหมู่

รูปภาพ
หมอลำหมู่  เป็นการลำที่มีผู้แสดงครบ หรือเกือบจะครบตามจำนวนตัวละครในเรื่องที่ดำเนินการแสดง มีอุปกรณ์ประกอบทั้งฉาก เสื้อผ้าสมจริงสมจังและยังมี.เครื่องดนตรีประกอบ แต่เดิมทีมีหลัก ๆคือ พิณ (ซุง หรือ ซึง) แคน กลอง การลำจะมี 2 แนวทาง คือ ลำเวียง จะเป็นการลำแบบลำกลอนหมอลำแสดงเป็นตัวละครตามบทบาทในเรื่อง การดำเนินเรื่อง ค่อนข้างช้า แต่ก็ได้ อรรถรสของละครพื้นบ้าน หมอลำได้ใช้พรสวรรค์ของตัวเองในการลำ ทั้งทางด้านเสียงร้อง ปฏิภาณไหวพริบ และความจำ เป็นที่นิยมในหมู่ผู้สูงอายุ ต่อมาเมื่อดนตรีลูกทุ่งมีอิทธิพลมากขึ้นจึงเกิดวิวัฒนาการของ ลำหมู่อีกครั้งหนึ่ง โดยได้ประยุกต์ กลายเป็น ลำเพลิน ซึ่งจะมีจังหวะที่เร้าใจชวนให้สนุกสนาน ก่อนการลำเรื่องในช่วงหัวค่ำจะมีการนำเอารูปแบบของ วงดนตรีลูกทุ่งมาใช้เรียกคนดู กล่าวคือ จะมีนักร้อง(หมอลำ) มาร้องเพลงลูกทุ่งหรือบางคณะหมอลำได้นำเพลงสตริง ที่กำลังฮิตในขณะนั้น มีหางเครื่องเต้นประกอบ นำเอาเครื่อง ดนตรีสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ เช่น กีตาร์ คีย์บอร์ด แซ็กโซโฟน ทรัมเปต และกลองชุด โดยนำมาผสมผสานเข้ากับเครื่องดนตรีเดิมได้แก่ พิณ แคน ทำให้ได้รสชาติของดนตรีที่แปลกออกไ...

หมอลำกลอน

รูปภาพ
หมอลำกลอน   เป็นการแสดงศิลปะพื้นบ้านของชาวอิสาน เริ่มมีมานานแล้วเท่าใดไม่ปรากฏหลักฐาน ทราบเพียงแต่ว่าเป็นศิลปะที่แทรกซึมอยู่ในสายเลือดของชาว อิสาน  เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของพวกเขา นักแสดงจะมีชื่อเรียกกันว่า "หมอลำ" คำว่า"หมอ" ก็แปลว่าผู้เชี่ยวชาญทางใดทางหนึ่ง คำว่าก็หมอกลอน คือหมอกวีที่ชำนาญการขับร้องลำนำ คำบท คำกลอนนั่นเอง เพลงหมอลำกลอน มีไว้เพื่อให้ชาวบ้านได้นำมาร้องมารำในยามมีงานบุญต่าง ๆ ในหมู่บ้าน หรือในงานวัด ทั้งงานสุขและงานทุกข์ ชาวบ้านก็จะนำเอาหมอลำกลอนมาเล่นกันให้สนุกสนาน โดยเฉพาะในช่วงหลังฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าว โดยมักนำเอาเรื่องราวใน วรรณคดี  นิทานพื้นเมืองความเป็นอยู่หรือสภาพของสังคม ตลอดจนเหตุการณ์ทั่วไป มาแต่งเป็นเรื่องราวเพื่อขับร้องเพื่อให้ผู้ฟังได้เกิดความเข้าใจและบันเทิง

หมอลำซิ่ง

รูปภาพ
หมอลำซิ่ง ประวัติความเป็นมา ลำซิ่ง  เป็นการลำที่พัฒนาไปจากหมอลำกลอน ดังนั้นจึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ลำกลอนซิ่ง เป็นการลำกลอนในแนวใหม่ซึ่งมีรูปแบบ การแสดงที่ประกอบด้วย การลำ การร้อง การฟ้อน และการเต้น คำว่า "ซิ่ง" น่าจะมาจากภาษาอังกฤษว่า "เรสซิ่ง" (racing)  ซึ่งแปลว่า การแข่งขัน  ลำซิ่งจึงเป็นการลำที่ใช้ลีลา จังหวะ ในการลำ การเต้น ที่รวดเร็ว ใช้ทำนองลำเดิน (ลำย่าว) ซึ่งเป็นทำนองทางสั้นวาดขอนแก่น เป็นทำนองหลัก แต่ใช้สำเนียงแบบลำทางยาวลำซิ่ง เป็นท่วงทำนองในการลำที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นจังหวัดขอนแก่น ซึ่งเดิมทีเดียวเกิดขึ้นในลำเพลินก่อน เนื่องจากมีการนำดนตรีสากล พวกกลองชุดเข้ามาบรรเลงประกอบการแสดง พร้อมทั้งใช้ทำนองลำเพลิน ลำเดิน ลำเต้ย และเพลงลูกทุ่งประกอบ หมอลำซิ่ง ผู้แสดงประกอบด้วยหมอลำฝ่ายหญิงและฝ่ายชายอย่างละ ๑ คน เหมือนหมอลำ กลอนแต่ลำซิ่งจะมีหางเครื่องเต้นประกอบซึ่งมีทั้งชายและหญิง คณะละ ๒ คน การแต่งกาย ลำฝ่ายชายจะแต่างกายชุดสากล ส่วนหมอลำฝ่ายหญิงจะสวม กระโปรงบานเพื่อให้สะดวกในการเต้น กลอนที่ใช้ลำเหมือนกลอนลำของลำกลอน ให้ทั้งสาระทางคดีโลกและคดีธรรม ดนตรีที่ใช้ประกอบ...