หมอลำซิ่ง
หมอลำซิ่ง
ประวัติความเป็นมา
ลำซิ่ง เป็นการลำที่พัฒนาไปจากหมอลำกลอน ดังนั้นจึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ลำกลอนซิ่ง เป็นการลำกลอนในแนวใหม่ซึ่งมีรูปแบบ การแสดงที่ประกอบด้วย การลำ การร้อง การฟ้อน และการเต้น
คำว่า "ซิ่ง" น่าจะมาจากภาษาอังกฤษว่า "เรสซิ่ง" (racing) ซึ่งแปลว่าการแข่งขัน ลำซิ่งจึงเป็นการลำที่ใช้ลีลา จังหวะ ในการลำ การเต้น ที่รวดเร็ว ใช้ทำนองลำเดิน (ลำย่าว) ซึ่งเป็นทำนองทางสั้นวาดขอนแก่น เป็นทำนองหลัก แต่ใช้สำเนียงแบบลำทางยาวลำซิ่ง เป็นท่วงทำนองในการลำที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นจังหวัดขอนแก่น ซึ่งเดิมทีเดียวเกิดขึ้นในลำเพลินก่อน เนื่องจากมีการนำดนตรีสากล พวกกลองชุดเข้ามาบรรเลงประกอบการแสดง พร้อมทั้งใช้ทำนองลำเพลิน ลำเดิน ลำเต้ย และเพลงลูกทุ่งประกอบ
หมอลำซิ่ง
ผู้แสดงประกอบด้วยหมอลำฝ่ายหญิงและฝ่ายชายอย่างละ ๑ คน เหมือนหมอลำ กลอนแต่ลำซิ่งจะมีหางเครื่องเต้นประกอบซึ่งมีทั้งชายและหญิง คณะละ ๒ คน
การแต่งกาย ลำฝ่ายชายจะแต่างกายชุดสากล ส่วนหมอลำฝ่ายหญิงจะสวม กระโปรงบานเพื่อให้สะดวกในการเต้น
กลอนที่ใช้ลำเหมือนกลอนลำของลำกลอน ให้ทั้งสาระทางคดีโลกและคดีธรรม
ดนตรีที่ใช้ประกอบ นอกจากแคนซึ่งเป็นเครื่องดนตรีหลักแล้ว ยังมีดนตรีสากล เช่น กลองชุด กลองทอม เบส กีต้า เข้ามาร่วมบรรเลงประกอบการแสดงด้วย
ปัจจุบันลำซิ่งกำลังได้รับการนิยมสูงสุดของคนทุกเพศทุกวัย เพราะมีท่วงทำนองคึกคักสนุกสนานและให้สาระอันเป็นประโยชน์ ต่อการดำเนินชีวิตประจำวันอีกด้วย
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น